8 โรคอันตรายที่มักพบในเด็กทารกแรกเกิด

Free Baby Holding White Wooden Stool Stock Photo

 

ช่วงแรกเกิดไปจนถึง 1 เดือนแรก เป็นช่วงที่เด็กทารกยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตสุขภาพสุขภาพของลูกน้อยในระยะนี้เป็นพิเศษ เพื่อป้องกันโรคในเด็กแรกเกิดที่อาจแทรกซ้อนได้ทุกเมื่อ เพราะเด็กวัยนี้มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าผู้ใหญ่

8 โรคในเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

1.ภาวะติดเชื้อในเด็กแรกเกิด

อันดับต้นๆ ของโรคในเด็กแรกเกิดมาจากการติดเชื้อ เพราะเด็กวัยนี้สามารถติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันไม่มากพอ ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนานๆ ยิ่งถุงน้ำคร่ำแตกนาน ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อลูกน้อย อาการที่สังเกตได้หากลูกน้อยมีภาวะติดเชื้อในเด็กแรกเกิดคือ กินนมน้อย ซึม หายใจผิดปกติ ตัวซีด บางรายอาจมีอาการชัก เกร็งร่วมด้วย ถ้าหากพบอาการนี้ให้พาลูกน้อยกลับมาพบแพทย์ให้ไวที่สุด

  1. ภาวะตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองเป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กแรกเกิดที่พบบ่อย ซึ่งตามปกติแล้วเด็กแรกเกิดทุกคนจะตัวเหลืองหลังคลอดบ้างเล็กน้อย มากสุดคือไม่เกิน 3-4 วันหลังเกิด ถ้าหากลูกน้อยตัวเหลืองเกินระยะเวลานี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่าลูกตัวเหลืองถึงขั้นไหน ถ้าพบว่าตัวเหลืองมากต้องรีบพาลูกน้อยพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นพิษกับเนื้อสมอง ถ้าสายเกินไปอาจเข้าสู่ภาวะสมองพิการ ทำให้ทารกมีอาการบิดเกร็งแขนขา หลังแอ่น ชัก และอาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้ารอดก็อาจทำให้บกพร่องทางการได้ยิน แขนขาเกร็งผิดปกติ หรือเป็นโรคปัญญาอ่อนได้ เป็นต้น

  1. โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการ เป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กแรกเกิดที่แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. ชนิดมีภาวะตัวเขียว และ 2. ชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว อาการที่สังเกตได้ว่าลูกน้อยอาจเป็นโรคหัวใจคือ มีริมฝีปากเขียว หายใจแรงเร็ว ซี่โครงบาน หน้าอกบุ๋ม จมูกบาน ดูดนมได้ไม่นานก็เหนื่อย ต้องหยุดเป็นพักๆ หายใจแรง ตัวเย็น มือเท้าเย็น ซีดแบบเฉียบพลัน มีทั้งตรวจพบที่โรงพยาบาลเลย และมาแสดงอาการช่วงหลัง

  1. ภาวะลำไส้ขาดเลือด

ภาวะลำไส้ขาดเลือดจากการบิดขั้ว เกิดจากลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เรียงตัวผิดปกติตั้งแต่เกิด ทำให้เส้นเลือดแดงไปเลี้ยงผนังลำไส้ไม่เพียงพอ แม้จะเป็นโรคในเด็กแรกเกิดที่พบไม่บ่อย อาการของภาวะนี้จะปกติในช่วงแรกคลอด แต่ต่อมาจะพบอาการอาเจียน ท้องอืด ถ่ายเป็นเลือดหรือสีน้ำหมาก หากปล่อยไว้อาจมีภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ถ้าหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีลูกน้อยมีภาวะนี้ ต้องรีบผ่าตัดโดยด่วน

  1. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนตั้งแต่กำเนิด

โรคในเด็กแรกเกิดที่พบได้บ่อยในประเทศไทยคือ ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนตั้งแต่กำเนิด โดยเฉพาะพื้นที่ของประเทศไทยที่มีการบริโภคธาตุไอโอดีนน้อย เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ภาวะนี้มักไม่แสดงอาการ จึงควรให้แพทย์ตรวจและรักษาหากพบว่ามีภาวะนี้ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตและสมอง

  1. น้ำตาลในเลือดผิดปกติ

ภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เป็นโรคในเด็กแรกเกิดที่เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และเกิดจากตัวลูกน้อยเอง หากลูกน้อยที่คลอดออกมาน้ำหนักต่ำกว่า หรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คุณหมอจะพิจารณาให้น้ำเกลือควบคู่ไปกับการกินนมแม่

 

  1. โรคทางพันธุกรรม

โรคในเด็กแรกเกิดที่พบได้บ่อย ส่วนหนึ่งมาจากโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือการติดเชื้อโรค หรือจากสุขภาพของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคเบาหวานในเด็ก โรคตาขี้เกียจ หรือโรคตามัว หรือกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

 

  1. โรคทางเดินหายใจ

เด็กที่เพิ่งคลอดออกจากท้องแม่ เป็นช่วงที่ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ดังนั้นการทำงานของปอด หรือระบบหายใจอาจยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โรคทางเดินหายใจพบบ่อยในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีอายุครรภ์ไม่ถึง 36 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจเป็นพิเศษ

จะเห็นได้ว่าเด็กในวัยแรกเกิดเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ เพราะร่างกายของเด็กยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมภายนอกมากนัก อีกทั้งยังไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ว่าตนเองกำลังรู้สึกเจ็บป่วยหรือไม่สบายอย่างไร คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงไม่ควรนิ่งนอนใจเรื่องสุขภาพของลูกน้อย โดยสามารถวางแผนสุขภาพของลูกน้อยล่วงหน้าด้วย ‘ประกันสุขภาพ’ กับแรบบิท แคร์ ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาสุขภาพลูกน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ